รีวิว Blue Period
หลายคนติดตาม Blue Period ตั้งแต่สมัยที่ไทยยังไม่ได้ลิขสิทธิ์ และอีกหลายคนเริ่มติดตามมังงะเรื่องนี้หลังจากที่มีกระแสในทวิตเตอร์แบบดังกระหึ่ม เราเป็นแบบแรก เริ่มติดตามจากการบังเอิญเห็นทวิตแนะนำมังงะเรื่องนี้ หลังจากนั้นก็รู้ว่าน่าสนใจเลยลองไปหาอ่านเอา ตอนนั้นยังไม่มี LC ในไทยเลย มีแค่กระแสแว่วมาว่าถูก LC ไปแล้วเพียงแต่สำนักพิมพ์ที่ได้ไปยังไม่ได้เผยตัวจำได้ว่าตอนนั้นไม่ได้คาดหวังอะไรมาก แต่พอลองได้อ่านแล้วกลับ hit me in the heart เข้าเต็มๆ
อ่านไปได้นิดหน่อยก็บ่นอยู่ตลอดว่าเมื่อไหร่จะมี LC ในไทยสักที จนทางญี่ปุ่นเค้าประกาศสร้างอนิเมะแล้ว จู่ๆ ก็ได้ข่าวว่าทาง Luckpim ได้ LC ไปและจะวางขายช่วงต้นปีค่ะ! เราก็เลยรออย่างใจจดใจจ่อ พอถึงเวลาก็กดสั่ง ตอนแรกมีปัญหานิดหน่อย แต่หลังจากนั้นก็กดสั่งได้เรียบร้อย แต่หลังจากนั้นดันพบว่าขายยังไม่ถึงครึ่งชั่วโมงดีหนังสือก็หมดเว็บแล้ว! ดูการ์ตูนออนไลน์ ดูการ์ตูน
หนัง-สือ-หมด-เว็บ-แล้ว!? นี่พิมพ์มา 20 เล่มหรือไงกันนะ เรียกได้ว่าสร้างปรากฏการณ์มากๆ เลยล่ะค่ะ อยากให้สำนักพิมพ์เติมของเยอะๆ จัง ทุกคนจะได้ไม่ต้องไปซื้อร้านที่อัพราคา เราเห็นมอริอาร์ตี้ตอนนี้ร้านข้างนอกขายเล่มละหลายร้อยเลย แย่มาก
เข้าเรื่องดีกว่า Blue Period เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่ม ม.ปลาย ปี 2 ที่ชื่อ ยางุจิ ยาโทระ สูบบุหรี่ได้ กินเหล้าเป็น เที่ยวกลางคืนเก่ง แถมยังคบเพื่อนหน้าตาน่ากลัว แต่กลับเป็นเด็กเกเรที่เรียนดี อยู่อันดับท็อปๆ ตลอด นิสัยเองก็เฟรนด์ลี่สุดๆ ยาโทระเป็นเด็กผู้ชาย ม.ปลาย ที่ชีวิตดูไปได้สวยคนหนึ่ง ถึงจะยังไม่ได้วาดฝันว่าอนาคตจะเป็นยังไง แต่สำหรับผลการเรียนระดับนี้แล้วไม่ว่าอะไรก็คงสามารถทำได้ทั้งนั้น
แต่จู่ๆ เขากลับถูกดึงดูดด้วยภาพวาดนางฟ้าที่ชมรมศิลปะขึงภาพทิ้งไว้โดยบังเอิญ จากนั้นมันก็จุดประกายให้เขาค้นพบว่าตัวเองนั้นชอบวาดภาพ แต่เขาก็อดคิดไม่ได้ว่า แค่วาดรูปทำเป็นงานอดิเรกก็ได้ไม่ใช่เหรอ ถึงไม่เข้ามหาลัยศิลปะก็ยังวาดรูปได้ไม่ใช่หรือไง งั้นมันมีความหมายอะไรที่จะต้องเลือกเรียนกัน?
ตัวแปรสำคัญในเรื่องที่มีอิทธิพลต่อตัวยาโทระในเล่มแรกนี้เราคิดว่ามี 2 คนค่ะ หนึ่งคือ รุ่นพี่โมริ หัวหน้าชมรมศิลปะ เจ้าของภาพวาดนางฟ้าที่ยาโทระเห็น และอีกคนคือ อาจารย์ประจำวิชาศิลปะ เธอเป็นคนตอบคำถามที่ยาโทระสงสัย พร้อมด้วยประโยคที่ทุ้มอยู่ในใจผู้อ่านหลายๆ คน เรียกได้ว่าน่าจะขึ้นหิ้งเป็นหนึ่งในประโยคอมตะของเรื่องได้เลย นั่นคือ…
หลังจากที่ปัดผ่านเมฆหมอกแห่งความสงสัยออกไปได้ ยาโทระรู้แล้วว่าตัวเองต้องการเรียนต่ออะไรในอนาคต เขายื่นใบสมัครเข้าชมรมศิลปะ วางแผนเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียวที่มีอัตราแข่งขันโอกาสติดอยู่ที่ 1 ต่อ 200 เริ่มต้นเส้นทางที่เปี่ยมล้นไปด้วยพลังของช่วงชีวิตวัยรุ่นจากนี้เป็นต้นไป
นี่ไม่ใช่มังงะตีแผ่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะของญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียว แต่มันมีเทคนิคการวาดภาพและช่วยจุดประกายอะไรหลายๆ อย่างให้กับผู้อ่านได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าจะบอกว่าอ่าน Blue Period หนึ่งเล่ม แต่กลับได้ความรู้ทางด้านศิลปะมาเท่ากับที่เรียนในระดับชั้นมัธยมทั้งหมดก็คงไม่ผิด เพราะขนาดเราเองบางเรื่องยังเพิ่งรู้เป็นครั้งแรกเลย
ตอนที่อ่านครั้งแรกเราน้ำตาไหลบ่อยมากแม้จะเป็นเพียงไม่กี่ตอน เพราะยาโทระกับเรามีความคล้ายกันในบางแง่มุม ยาโทระเป็นเด็กเรียนเก่งที่ใช้ชีวิตไปตามอย่างที่ตัวเองต้องการ แต่เขาไม่ได้ใส่ใจว่าอนาคตจะเป็นยังไง แค่รู้สึกว่าตัวเขาเองมีภาษีดีกว่าคนอื่นก็พอ แต่เมื่อเขาได้รู้จักการวาดภาพ เขาสับสนและสงสัย
ทว่าถึงอย่างนั้นก็สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าแม้ตัวเองจะเริ่มต้นช้าเมื่อเทียบกับคนอื่น แต่เขาก็มีความพยายามที่สำคัญคือมีความมุ่งหวังว่าจะสามารถเดินไปตามเส้นทางนี้ได้อย่างราบรื่น เทียบกับเราที่เหมือนกันกับยาโทระ เราพลาดตรงที่ตัวเองไม่ได้ตัดสินใจแบบนั้น เพียงเพราะตอนนั้นคิดแค่ว่า “วาดรูปก็เป็นงานอดิเรกได้” สุดท้ายการที่ไม่ได้เรียนต่อด้านศิลปกรรมเลยกลายเป็นหนึ่งในเรื่องที่ยังติดอยู่ในใจเราจนถึงตอนนี้
เนื้อเรื่อง รีวิว Blue Period
แม้ยาโทระจะเรียนเก่ง ทุกอย่างเพอร์เฟ็ค เขาคิดกระทั่งว่าตัวเองก็วาดรูปได้นี่นา ไม่น่ายากล่ะมั้ง แต่พอเอาเข้าจริงเขาก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีกว่าใคร นั่นเป็นสิ่งที่เราชอบในการที่เซนเซย์เขียนมันออกมาแบบนี้ ทุกอย่างที่ยาโทระก้าวหน้าขึ้นมาได้มาจากความพยายามและการใฝ่รู้ของเขาทั้งหมด ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าใครได้อ่านจะต้องตกหลุมรักผู้ชายคนนี้แน่นอน
สำหรับในเล่มแรกเราจะได้รู้ว่าครอบครัวยาโทระไม่ได้มีเงินมากพอจะส่งเขาเข้าเรียนมหาลัยเอกชน ไม่คิดด้วยซ้ำว่าเขาจะเบนสายมาทางศิลปะแบบทันทีทันใดแบบนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาเองยังคิดว่าเขาแค่เล่นๆ ซึ่งตรงนี้เราจะได้มาอ่านกันต่อในเล่ม 2 ว่ายาโทระใช้วิธีไหนทำให้แม่เขายินยอมให้เขาเรียนศิลปะต่อไป บอกเลยว่าเป็นอีกซีนที่น้ำตาไหลพรากแบบหยุดไม่อยู่จริงๆ
อีกตัวละครหนึ่งที่เราชอบทีเดียวคือ ยูกะจัง เราค่อนข้างว้าวที่เซนเซย์เลือกเขียนตัวละครนี้ขึ้นมาพร้อมแบ็คกราวนด์ที่เป็นโรงเรียนมัธยม ยูกะจังเป็นผู้ชายไม่ใช่ผู้หญิง แต่เขาแต่งหญิงมาโรงเรียนแถมยังมีคนชอบเยอะอีกต่างหาก แน่นอนว่าเป็นสำหรับยาโทระแล้วเขามองรุ่นพี่โมริเป็นกึ่งๆ ไอดอล แต่มองยูกะจังเป็นเพื่อนแบบผลัดกันลูบหัวผลัดกันบีบคอ เดี๋ยวตีกันเดี๋ยวซัพพอร์ตกัน เป็นความสัมพันธ์ที่น่ารักดีค่ะอ้อ พูดถึงตรงนี้แล้วการ์ตูนแถมหน้าสุดท้ายน่ารักมาก ตรงประเด็นที่ยาโทระพูดถึงโดจิน BL ที่สาวๆ ในชมรมศิลปะแอบอ่านกัน เราเลยแบบเฮ้อออ ใครบ้างจะไม่หลงรักยาโทระนะ ลูกชายฉันดีขนาดนี้ มานี่มาดูลูกชั้นนนน
เขียนมายืดยาวขนาดนี้เราปิดท้ายด้วยการเชียร์ให้ทุกคนอ่านมังงะเรื่องนี้ค่ะ ยิ่งสายผลิตสายงานอาร์ตทั้งหลายยิ่งไม่ควรพลาด แต่ถึงงั้นคนที่ไม่อะไรกับศิลปะก็ควรอ่านเหมือนกันนะ เพราะเนื้อเรื่องมันรีเลทได้ดีกับชีวิตทุกคนมาก คุณจะได้ทั้งแรงบันดาลใจในการก้าวต่อไปข้างหน้า ขณะเดียวกันก็ได้หวนนึกถึงวันคืนเก่าๆ แถมได้ความรู้ว่าวงการศิลปะบ้านเค้ามันขนาดนี้เลยนะเนี่ย
แต่ก็นะ ทางสำนักพิมพ์พิมพ์ออกมาน้อยเกินไป เติมของทีไรก็หมดไวตลอด ร้านอื่นๆ เริ่มอัพราคากันแล้ว อยากให้ทุกคนไม่ซื้อร้านที่อัพราคานะคะเพราะร้านพวกนี้นิสัยไม่ดี ชิบูย่าสีฟ้า ความฝันของเด็กหนุ่มมัธยมปลาย ยางุจิ ยาโทระ เริ่มต้นขึ้นในวันหนึ่งที่เขาได้พบกับภาพวาดสีน้ำมันรูปนางฟ้า และเพิ่งรู้ตัวว่าตนเองนั้นชอบวาดภาพ นั้นคือจุดเริ่มต้นของ Blue Period การ์ตูนที่จะพาเราติดตามชีวิตของเด็กหนุ่มที่ต้อง
มุ่งมั่นและพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียว มหาวิทยาลัยศิลปะรัฐบาลเพียงแห่งเดียวของญี่ปุ่นที่มีอัตราการสอบเข้ามากถึง 1:200 คน ที่ผู้อ่านได้เห็นถึงความทุ่มเทพยายามเพื่อทำตามความฝันจนอดที่จะเอาใจช่วยไม่ได้ การ์ตูนเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การ์ตูนศิลปะธรรมดาๆ แต่ Blue Period ยังเป็นการ์ตูนที่พูดถึงประเด็นน่าสนใจอีกมากมาย และได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวที Manga Taisho Awards ครั้งที่ 13 อีกด้วย
กระแสความนิยมของการ์ตูนเรื่องนี้ทำให้ Blue Period ได้รับการสร้างเป็นแอนิเมชั่นฉายในสตรีมมิ่ง Netfilx ที่ได้ออกอากาศไปทั่วโลก ถึงแม้ในรูปแบบของแอนนิเมชั่นจะมีความยาวเพียงตอนละประมาณ 23 นาที ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดในการ์ตูนออกมาได้ทั้งหมด แต่ก็ยังถือว่าเรื่องนี้เป็นแอนิเมชั่นคุณภาพดีอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียวเพราะมีทั้งเรื่องราวที่เปี่ยมไปด้วยความฝัน ความทุ่มเทของวัยรุ่น ช่วงชีวิตที่ต้องค้นหาตัวเอง เทคนิกศิลปะที่สอดแทรกมาตลอดทั้งเรื่อง และเรื่องราวอีกมากมาย เราจึงรวบรวม 6 ประเด็นที่น่าสนใจหลังจากได้สัมผัสกับการ์ตูนเรื่องนี้มาให้อ่านกัน
รีวิว Blue Period
“แต่งตัวเป็นผู้หญิงนี้มันแปลกขนาดนั้นเลยหรือไง การอยากให้ตัวเองสวยหรือน่ารักบ้าง หรือการที่ผู้ชายชอบผู้ชาย มันผิดปกติตรงไหนกัน ฉันจะปกป้องตัวเองด้วยสิ่งที่ฉันชอบไม่ได้เลยเหรอ” – อายุคาวะ ริวจิ (เพื่อนในชมรมศิลปะ) จากหนังสือ Blue Period เล่มที่ 1
คำพูดจาก อายุคาวะ ริวจิ เด็กชายหน้าตาน่ารักที่แต่งตัวเป็นหญิง หนึ่งในสมาชิกชมรมศิลปะ ที่มีความเป็นตัวเองสูง แต่มีความสับสนทั้งเรื่องความสัมพันธ์และการต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย Blue Period ได้พูดถึงประเด็นนี้อย่างอ่อนโยนและตรงไปตรงมา เพื่อให้คนที่ได้อ่านหรือดูการ์ตูนเรื่องนี้เข้าใจถึงความเป็นมนุษย์ได้มากขึ้นซึ่งหากผู้อ่านอยู่ในช่วงวัยเดียวกับตัวละครที่มีความหลากหลายในเรื่อง น่าจะสามารถทำความเข้าใจกับความคิดและความรู้สึกของตัวเองไปพร้อมๆ กับตัวละครได้เช่นกัน
Blue Period เล่าเรื่องผ่าน ยางุจิ ยาโทระ เด็ก ม.ปลาย ที่มีภาพลักษณ์ภายนอกเป็นเด็กเก แต่กลับมีคะแนนการสอบที่ดี ทั้งยังเข้าสังคมได้หลากหลายระดับที่หลายคนอิจฉา แต่ตัวของเขาเองกลับพบว่า ยังมีช่องว่างในใจที่ไม่รู้ว่าจะถมอย่างไร จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้พบกับงานศิลปะ และทำให้เขาได้พบว่าตัวเองอยากเอาจริงเอาจังกับสิ่งใดกันแน่ผลงานเรื่องนี้ถือว่าเป็นมังงะที่มาแรงในหลายๆ ประเทศ และกำลังจะถูกสร้างเป็นอนิเมะออกฉายในช่วงปี ค.ศ.2021 ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงของ Gunjou วง Yoasobi ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ตัวเรื่องชวนคนอ่านให้คิดตามอย่าง
มาก นับตั้งแต่การเปิดหน้าแรกของเรื่องด้วยคำพูดว่า ‘รูปของปิกัสโซ (Pablo Picasso) มีดีตรงไหน’ ตัวเอกที่เป็นนักวาดมือใหม่ก็น่าจะวาดภาพแบบนี้ได้ ทั้งยังพาไปพบความจริงหนักๆ ที่ว่าการเรียนศิลปะในญี่ปุ่น แพงกว่าหลายประเทศ แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีตลาดศิลปะที่ค่อนข้างใหญ่ก็ตามส่วน เส้นสายลายชีวิต หรือ Sen Wa, Boku Wo Egaku เป็นผลงานมังงะที่ได้อาจารย์โฮริอุจิ อัตสึโนริ (Horiuchi Atsunori) เป็นผู้วาดภาพ ซึ่งเป็นการดัดแปลงมาจากผลงานนิยายชื่อเดียวกันของอาจารย์โทกามิ ฮิโรมาซะ (Togami Hiromasa)
นักเขียนนิยายและนักนักวาดพู่กัน (ภาพวาดสุมิเเอะ (Sumi-E) หรือ ภาพวาดล้างหมึก แต่ขออนุญาตใช้คำว่า นักวาดพู่กันตามคำแปลของมังงะฉบับภาษาไทย) ตัวมังงะเคยตีพิมพ์อยู่ในนิตยสารโชเน็นแมกกาซีนรายสัปดาห์ นิตยสารมังงะแนวโชเน็น (Shonen) ของทางโคดันฉะในช่วงปี ค.ศ.2019 – 2020 รีวิว อนิเมะ
เส้นสายลายชีวิต เริ่มเรื่องด้วยการเล่าถึงชีวิต อาโอยามะ โซสุเกะ นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ชีวิตเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน หลังจากเขาไปทำงานพิเศษแล้วเจอคุณลุงคนหนึ่งชักชวนให้ไปกินข้าวและเดินรับชมงานวาดภาพพู่กัน ก่อนที่จะพบว่าลุงคนนั้นคือ ชิโนดะ โกะซัง นักวาดภาพพู่กันชื่อดังที่ต้องชะตาและชักชวนให้โซสุเกะมาเป็นลูกศิษย์ ทำให้ชีวิตที่เหมือนจะมีปมปัญหาบางอย่างของเด็กหนุ่มคลี่คลายผ่านการวาดลายเส้นลงบนกระดาษ ที่มีอะไรมากกว่าการใช้เทคนิคในการวาดเท่านั้น