รีวิว K-on the movie

“เวลาสามปีที่อยู่กินขนมพลางจิบชาและก็ซ้อมดนตรีกับทุกคนที่นี่ หลังจากนี้ก็เหลือแค่จบการศึกษาแล้ว” มันก็คงจะเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เมื่อมีพบก็ต้องมีจาก แม้จะไม่ได้ไปถึงระดับที่ต้องตายเหมือนที่เผลอบิ้วต์ไป แต่การที่รู้ว่าวันที่กิจกรรมที่ทำร่วมกันนั้นกำลังจะสิ้นสุดลงก็ทำให้เหล่า ๆ ผู้ที่มีความผูกพันอดไม่ได้ที่จะต้องเศร้าไปด้วย ในความรู้สึกแล้วมันก็เหมือนการที่กิจวัตรอะไรสักอย่างหนึ่งนั้นหายไป ไม่ว่าจะดีหรือร้ายมันก็สามารถทำให้เราคิดถึงได้เหมือนกัน

 

วันจบการศึกษาของโรงเรียนนั้นก็กำลังจะมาถึงแล้ว แน่นอนว่ามันก็จะทำให้เหล่าสี่สาวรุ่นพี่ของวง “เวลาน้ำชาหลังเลิกเรียน” ที่สำเร็จการศึกษาแล้วต้องออกจากชมรมดนตรีป๊อปไปโดยปริยาย (กำลังจะ)ทิ้งให้นากาโนะ อาซึสะกลายเป็นสมาชิกหัวเดียวที่เหลืออยู่ในชมรม ในฐานะของ “ผู้ที่กำลังจะจากไป” อย่างเหล่ารุ่นพี่ ๆ ทั้งสี่แล้ว มันก็อดไม่ได้ที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อทิ้งท้ายให้เป็นอนุสรณ์ความทรงจำให้แก่ชมรม ดูการ์ตูนออนไลน์ ดูการ์ตูน

 

รีวิว K-on the movie

 

เพื่อแสดงถึงความเป็น “พี่ใหญ่” ที่ทั้งสี่คนไม่ได้ทำมานาน หรืออย่างน้อย ๆ ก็ให้แก่น้องอาซึสะที่จะยังอยู่กับชมรมอีก 1 ปี แต่ปัญหาคือจะให้เป็นอะไรดี ? Impression แรกที่เจอเรื่องนี้ก็ทำให้ผมแทบต้องร้อง “WHAT THE-” ออกมาดัง ๆ แล้ว ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าค่าย DEX จะทำเรื่องนี้หลุดมือไปได้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ถือลิขสิทธิ์ฉบับโทรทัศน์ไว้แท้ ๆ ความห่วงแรกที่เกิดขึ้นเลยก็คือเรื่องของการเข้าถึง ด้วย

 

ความที่เจ้านี้ไม่ได้เป็นบริษัทลิขสิทธิ์การตูนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ทำให้จะหาเช่าดู (ผ่านเว็บ) ก็ไม่ได้ แถมแผ่น (ในขณะที่เขียน) ก็หายากขึ้นเป็นกองจนอาจจะทำให้การติดตามเรื่องนี้ (สำหรับผู้อ่านในอนาคตอันไกลโพ้น) อาจจะจำเป็นที่ต้องไพเรตเพื่อให้ได้ดู (เสียใจด้วยนะครับ) สำหรับคุณภาพแผ่นแล้วก็คงจะ “คุ้มค่า” สำหรับราคานี้ล่ะมั้งครับ บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดก็มีแค่กล่อง DVD พลาสติก หุ้มด้วยปลอกกระดาษ ไม่มีของแถม

 

รีวิว K-on the movie

 

ไม่มีอะไรเพิ่มเติมทั้งนั้น งานนี้ขอตำหนิทีมทำซับไตเติลที่ไม่ทำคำแปลในส่วนของเนื้อเพลงนะครับและแม้ว่าส่วนใหญ่ผมจะทำอะไรต่อท้ายด้วยคำว่า On-a-budget (“ฉบับเงินน้อย”) อยู่ตลอดจนทำให้ของราคาถูกเป็นสิ่งทั่วไปที่จะตามหา แต่ครั้งนี้ผมรู้สึกค่อนข้างจะเห็นใจเหล่าแฟน ๆ ที่รักเรื่องนี้มากแต่ไม่ได้รับของอะไรเพิ่มเติมให้ชื้นหัวใจขึ้นมาเลย

 

กลับไปที่เนื้อเรื่องแล้ว งานนี้เนื้อเรื่องก็ยังดูวุ่นวายเหมือนฉบับเดิมทุกประการ ตัวละครจะเปิ่น จะเวิ่น หรือจะอะไรก็ยังรักษาความเป็น K-On ไว้ได้อยู่ตลอด แต่จะเปลี่ยนสถานที่เล่นเรื่องในครึ่งแรกไปเป็นที่อื่น เพราะในจังหวะเวลาก่อนหน้านั้นนิดหน่อยก็เป็นช่วงเวลาที่ชมรมต่าง ๆ กำลังจัดทริปออกเที่ยวไปยังต่างประเทศ พอชมรมดนตรีป๊อปได้ยินบ้างก็เลยอยากจะจัดทริปกับเขาบ้าง สุดท้ายตกลงกันไปมาก็เลยจบที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษครับ

 

รีวิว K-on the movie

 

รู้สึกว่าจะไม่ได้มีอะไรเพิ่มมาเป็นพิเศษสำหรับภาคนี้ครับ คงจะเป็นด้วยความที่ Slice-of-life จ๋าอยู่แล้วก็เลยมีเนื้อเรื่องเบาหวิว ต่อให้เผลอ “อ่านข้ามบรรทัด” (เป็นการ์ตูนสี่ช่องต่องอ่านข้ามช่องสิ) ก็ไม่ได้มีผลอะไรแรงกับเนื้อเรื่องเท่าไหร่เลยครับ ถ้า จะให้พูดไปแล้ว ฉบับภาพยนตร์ก็เป็นเหมือนฉบับที่เอาไว้ดูเรื่อย ๆ เฉย ๆ ไปเลยมากกว่าที่จะมาเก็บเอาสาระจริงจัง แต่มันก็เหมือนการจบการศึกษาที่ไม่อาจจบความสัมพันธ์ได้ล่ะมั้งครับ ไม่ว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องห่างไกล แต่อย่างน้อยความ

เนื้อเรื่อง รีวิว K-on the movie

พยายามนี้มันก็เป็นสิ่งที่ควรทำและติดตาม หากพูดถึงอนิเมะที่เกี่ยวข้องกับดนตรีแล้ว ก็ต้องบอกเลยว่ามีเยอะมาก มากจนผมเองก็ตามดูไม่หมด เพราะตัวผมก็ไม่ใช่แฟนอนิเมะอะไรขนาดนั้น จนประมาณช่วงปี 2010 ที่ผ่านมาผมได้รู้จักกับอนิเมะเรื่องนึง โดยเกี่ยวกับนักเรียน ม.ปลายสาวญี่ปุ่น

 

รวมตัวกันก่อตั้งชมรมดนตรีเบาขึ้นมา และตั้งวงแสดงสดในงานโรงเรียน จนได้มีโอกาศไปแสดงสดตามที่ต่างๆ โดย Highlight ของอนิเมะเรื่องนี้นอกจากจะอยู่ที่เพลงประกอบที่เพราะจนติดหูทุกเพลงแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วยความน่ารักสดใสของตัวละครทุกๆตัวอีกด้วยครับ ยังไม่นับมุขตลกที่ทำให้ยิ้มได้ตลอดทั้งเรื่องอีกด้วยนะ

 

 

เอาล่ะ เกริ่นกันมาเยอะมาก วันนี้ผมจะมาแนะนำอนิเมะขวัญใจอันดับหนึ่งของใครหลายๆคน “K-ON!” หรือชื่อไทย “เค-อง! ก๊วนดนตรีแป๋วแหวว” กันครับ เนื่องจากผมเชื่อว่ายังมีเด็กรุ่นใหม่อีกหลายคนที่ไม่เคยดูอนิเมะเรื่องนี้ หรืออาจจะเป็นคนที่ไม่เคยดูอนิเมะมาก่อนเลยก็ตาม K-ON จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากจะเริ่มดูอนิเมะครับ และแน่นอนว่ามันเป็นแรงบันดาลใจที่ดีมากๆ สำหรับคนที่คิดจะหัดเล่นดนตรีอีกด้วยครับ

 

K-ON แรกเริ่มเดิมทีแล้วเป็นมังงะ 4 ช่องมาก่อน แต่งเรื่องและเขียนภาพโดย คาคิฟลาย (Kakifly) ลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสาร “Manga Time Kirara” ตั้งแต่ช่วงปี 2007 ถึงปี 2010 โดยมังงะเรื่องนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนบริษัท Kyoto Animation ผลิตมังงะ K-ON เป็นอะนิเมะออกฉายตามช่องโทรทัศน์ ความยาว 13 ตอนโดยออกฉายครั้งแรกในช่วงต้นปี 2009 จบลงในปีเดียวกัน

 

 

ด้วยกระแสที่ฉุดไม่อยู่จากการที่อนิเมะ Season แรกได้รับกระแสตอบรับดีเกินคาด ทีม Kyoto Animation จึงได้ผลิต Season 2 ออกมาอีกกว่า 26 ตอน ออกฉายในช่วงเดือนเมษายน 2011 ถึงกันยายนในปีเดียวกัน และนอกจากนั้นยังมีภาค The Movie ออกฉายตามมาอีกในช่วงเดือนธันวาคม 2011 อีกด้วย

 

เนื้อเรื่องหลักๆจะอยู่ที่เด็กสาว 4 คนจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนซากุระงาโอกะ ได้เริ่มก่อตั้งชมรม “keiongaku” ย่อเป็น K-ON หรือชมรมดนตรีเบาขึ้นมา ภายหลังได้ตั้งชื่อวงขึ้นมาว่า “Houkago Tea Time” จนได้สมาชิกรุ่นน้องคนที่ 5 เข้ามาในภายหลัง ตัวละครหลักๆ จะมีดังนี้

 

 

รีวิว K-on the movie

ฮิราซาว่า ยุย (平沢 唯 Hirasawa Yui) ให้เสียงโดย Toyosaki Aki สาวทึ่ม เรียนไม่เก่ง แต่ทว่าหากเธอตั้งใจทำอะไรแล้วจะตั้งใจทำจนสำเร็จ เป็นคนลืมง่ายเมื่อจำอะไรใหม่ได้ ก็จะลืมเรื่องเก่า แรกเริ่มเดิมทีเธอยังเล่นเครื่องดนตรีอะไรไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ เป็นคนที่มีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า “เพอร์เฟคพิช” มีความกล้าแสดงออกสูง ความเครียดไม่มีผลกับเธอเลย เธอรับตำแหน่ง Lead Guitar และนักร้องนำประจำวง เครื่องดนตรีประจำตัวเธอคือ กีตาร์ Gibson Les Paul Standard สี Cherry Sunburst โดยเธอตั้งชื่อให้ว่า “กีตะ (Giita)”

 

อากิยามะ มิโอะ (秋山 澪 Akiyama Mio) ให้เสียงโดย Hikasa Yoko สาวมาดเท่ สวยแบบเป็นผู้ใหญ่ แลดูน่าพึ่งพาได้มากที่สุด แต่ในทางกลับกันเธอเป็นเด็กที่ทั้งขี้อาย ขี้กลัวทุกอย่าง จนมักจะโดนเพื่อนในวงแกล้งเป็นประจำ เธอเป็นผู้แต่งเพลงเองเกือบทั้งหมดในวง มิโอะได้รับความนิยมมากถึงขนาดที่มีกลุ่มแฟนคลับกันเลยทีเดียว บทบาทของเธอในวงคือมือเบสประจำวง เธอมีความสามารถในการเล่นเบสระดับสูงมาก อีกทั้งเธอยังเป็นผู้แต่งเพลงให้กับวง และยังทำหน้าที่ร้องนำ/ประสานในบางเพลงอีกด้วย เครื่องดนตรีประจำตัวของเธอคือ Fender Jazz Bass

 

 

ไทนากะ ริทสึ (ญี่ปุ่น: 田井中 律 Tainaka Ritsu) สาวที่มีนิสัยเหมือนผู้ชาย แต่ลึกๆ ยังมีความน่ารักในตัว เธอเป็นเพื่อนสนิทกับมิโอะตั้งแต่สมัยประถม อีกทั้งเธอยังเป็นคนบังคับลากมิโอะมาเข้าชมรม K-ON อีกด้วย เธอเป็นประธานชมรม K-ON  แต่ถึงแบบนั้นเธอก็มักจะลืมเอกสารสำคัญ หรือทำหน้าที่ของประธานตลอด เรียกว่าพอๆกับยูอิเลยทีเดียว เป็นคนคิดอะไรแล้วจะลงมือทำทันที และเป็นคนชวนมิโอะมาเล่นดนตรี เธอเป็นมือกลองประจำวง สไตล์ของเธอคือเป็นมือกลอง Overbass คือไม่ค่อยตีฉาบแคลช สักเท่าไร เครื่องดนตรีประจำตัวเธอคือ Yamaha Hipgig Drumset

 

โคโตบุกิ สึมุกิ (ญี่ปุ่น: 琴吹紬 Kotobuki Tsumugi) มุกิจัง สาวสวยลูกคุณหนูประจำตระกูลโคโตบุกิ เธอเป็นลูกสาวของประธานบริษัทที่รวยมากๆ และมีทั้งบริษัทลูกๆ และ บ้านพักตากอากาศมากมายอยู่ทั่วประเทศ ในตอนที่ยูอิไปชื้อกีตาร์ครั้งแรก เธอได้ขอให้ทางร้านลดราคากีตาร์มาให้จนเหลือไม่ถึง 1/4 ของราคาเดิม เธอเข้าชมรมเนื่องจากว่าเธอไม่เคยมีเพื่อนมาก่อน

 

 

และเธอก็ยังไม่เคยใช้ชีวิตแบบเด็กสาวธรรมดาๆเลยสักนิด เธอเริ่มเล่นเปียโนครั้งแรกตั้งแต่ 4 ขวบ หน้าที่ในวงของเธอคือเล่นคีย์บอร์ด และแต่งทำนองเพลงให้กับวง อีกทั้งเธอยังรับหน้าที่ชงชา และนำขนมมาให้เพื่อนๆในวงอยู่เสมอ เป็นเด็กสาวที่แข็งแรงมากๆ และยังมีนิสัย “ยูริ” อยู่นิดๆด้วย เครื่องดนตรีประจำตัวของเธอคือ Korg Triton Extreme 76 Key

 

นากาโนะ อาซึสะ (ญี่ปุ่น: 中野 梓 Nakano Azusa) เธอเป็นรุ่นน้องเล็กสุดของวง มีบทบาทเข้ามาในช่วงที่ยูอิขึ้นชั้น ม.5 เธอเข้าร่วมชมรมเพราะประทับใจในการแสดงสดต้อนรับรุ่นน้อง เธอเริ่มเล่นกีตาร์ตั้งแต่เด็กๆ เนื่องจากพ่อกับแม่เธอนั้นได้ทำวง Jazz อยู่ เธอเป็นคนที่จริงจังกับการเล่นดนตรีมาก แต่ก็มักจะโดนรุ่นพี่ทั้ง 4 ชวนไปเล่นจนไม่ได้ซ้อมกันเลย  เธอมีฉายาในวงว่า “อาซึเนี้ยว” เนื่องจากว่าเธอนั้นเข้ากับหูแมวเป็นอย่างมาก เธอเข้าร่วมวงในฐานะมือกีตาร์ทำนอง หรือ Rhythm Guitar ของวง และยังเป็นคนที่สำคัญมากๆที่สุดของรุ่นพี่ทั้ง 4 คนอีกด้วย เครื่องดนตรีประจำตัวของเธอคือ Fender Mustang สีแดง

 

โดยเรื่องราวจะเริ่มต้นขึ้นโดยที่ “ยูอิ” เด็กม.ปลาย ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีอนาคตสักเท่าไร ได้เข้าสมัครชมรม K-ON เนื่องจากว่าคิดว่าเป็นชมรมที่น่าจะมีอะไรง่ายๆให้ทำ จนเธอมาพบกับอีก 3 คนที่เหลือ และด้วยการที่เธอเล่นกีตาร์ไม่เป็น เธอจึงจะขอออกจากชมรม แต่ถ้าเกิดชมรม K-ON หาสมาชิกได้ไม่ครบ 4 คน ชมรมก็จะถูกยุบ ทำให้อีก 3 สาวที่เหลือต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยูอิเข้าชมรมให้ได้ รีวิว อนิเมะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *