รีวิว Perfect Blue
ผลงานของซาโตชิ คงผู้กำกับในตำนานที่ฝากอนิเมชั่นไว้หลายเรื่องจนกลายเป็นแรงบรรดาลใจให้หลายคนเอาไอเดียไปต่อยอดสร้างหนังดังหลายเรื่องอย่าง Black Swan, Inception ดูการ์ตูนออนไลน์ ดูการ์ตูน และอื่นๆ บอกก่อนว่าเราสนใจงานของซาโตชิมานานแล้ว ด้วยความที่ลายเส้นโดนใจเราสุดๆและอย่างที่บอกไปข้างบนว่างานเขาเป็นจุดไอเดียให้หนังหลายเรื่องยิ่งทำให้เราสงสัยว่าเอ้อหนังเขามันสุดยอดขนาดนั้นเลยเหรอ จนตอนนี้เราก็ไล่ดูงานเขาทั้งหมดเท่าที่มีและก็ยกให้เขาเป็นผู้กำกับคนโปรดใน
ดวงใจไปแล้ว เรื่องราวเกี่ยวกับมิมะ ไอดอลสาวในเกิร์ลกรุ๊ปร่วมกับเพื่อนอีกสองคน คราวนี้เธอต้องการจะวางมือจากการเป็นไอดอลและหันมาเอาดีทางด้านนักแสดงแทน จุดหลักของเรื่องนี้อยู่ ที่แฟนคลับผู้คลั่งไคล้เธอและบทในการเป็นนักแสดงสาวที่ไม่ได้ดีอย่างที่คาดหวังไว้ เรื่องนี้เป็นต้นกำเนิด Black Swan ของผู้กำกับแดเรน อโนรอฟสกี้ค่ะ เราดูทั้งสองเรื่องแล้วพูดได้เต็มปากว่า Black Swan ก๊อปไปโคตรหลายซีน555 เดี๋ยวเร็วๆนี้เราจะเขียนเกี่ยวกับ Black Swan บ้างนะคะ ทีนี้ Perfect Blue เนี่ย ค่อนข้างเล่นกับคนดู
มากทั้งเรื่อง ตามชื่อไทยเลยค่ะ เธอหรือฉันใครคือมิมะ มันเป็นหนังจิตวิทยาที่เล่นกับความจริงและ ความลวง การกระทำนี้มาได้ยังไง เหตุผลคืออะไร ใครเป็นคนทำกันแน่ เหมือนมันหลอกล่อให้คนดูงง แต่พอฉากเฉลยตอนสุดท้ายเราก็จะเข้าใจทุกอย่างเองค่ะ เพราะแกนหลักสำคัญของเรื่องก็อยู่ที่ตัวละครหลัก 3 ตัวเท่านั้นเอง
งานภาพสำหรับเราสวย เราชอบเส้นแบบนี้มากๆ อาจจะมีบางฉากเบี้ยวไปนิดแต่ด้วยอายุปีของหนังเราว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ดีคือการใช้ภาพเสริมอารมณ์ของหนังให้ดูไม่น่าไว้วางใจได้นี่แหละค่ะที่ทำให้หนังมันอินขึ้น เอาเป็นว่าพอดูจบแล้วเราก็ชอบเลย หนังมันเนือยแหละ แต่ประเด็นมันโดนไง หนังสั้นนิดเดียวเพราะงั้นเราคิดว่าน่าจะดูได้สบายๆ อยากให้ทุกคนได้รู้จักงานของซาโตชิ
1.
ในวงการ “ไอดอล” ของญี่ปุ่น และ อาจจะรวมถึงวงการดารา นักร้อง นักแสดง หรือนางแบบ ภาวะที่มีคลื่นลูกใหม่เข้ามาทดแทนคลื่นลูกเก่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งในวงการที่ต้องการ “ความสวย” “ความเยาว์วัย” เป็นจุดขายอย่างมากอย่างวงการไอดอลด้วยแล้ว การผลัดเปลี่ยนรุ่นจึงเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย และ รวดเร็ว แต่บางการผลัดเปลี่ยนก็เกิดจากความตั้งใจ บ้างก็ไม่
ทั้ง “มิมะ” และ “รูมิ” ต่างก็เป็นอดีตไอดอล ต่างกันตรงที่มิมะนั้นออกจากวงการตามคำแนะนำของโปรดิวเซอร์ที่อยากให้เธอมาเอาดีด้านการเป็นนักแสดงมากกว่า ส่วนรูมินั้นเราไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอแต่เธอน่าจะไปได้ไม่ดีนักกับการเป็นไอดอล และ ปัจจุบันเธอก็กลายมาเป็นผู้จัดการส่วนตัวให้กับมิมะ
ตลอดทั้งเรื่องหนังจะพาเราไปใกล้ชิดกับ “มิมะ” ทำให้เราได้สัมผัสกับความลังเลใจ ความอึดอัดของเธอในการที่สละการเป็นไอดอลซึ่งเธอเองก็มีแฟนๆอยู่มากพอสมควร และ เทียบกับงานแสดงก็ดูจะเป็นงานที่ง่ายกว่า อีกทั้งการเปลี่ยนมารับงานแสดงก็ทำให้แฟนคลับของเธอส่วนหนึ่งไม่พอใจ (กลุ่มแฟนคลับของไอดอลมักจะเป็นกลุ่มคนที่เราเรียกว่า “โอตาคุ” ซึ่งอธิบายอย่างสั้นๆคือกลุ่มคนที่ค่อนข้างแยกตัวจากสังคม และ มีความสนอกสนใจกับบางสิ่งที่บางอย่างเป็นพิเศษ และ ในมุม
เนื้อเรื่อง รีวิว Perfect Blue
มองของเหล่าโอตาคุนี้ ไอดอลสำหรับพวกเขาต้องมีความบริสุทธิ์สดใส และ การเป็นนักแสดงที่ต้องรับบทบาทหลากหลายย่อมขัดกับความรู้สึกของแฟนๆกลุ่มนี้) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันทำให้มิมะเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง และ เกิดความสับสนการรับรู้ความเป็นจริง และ บางครั้งเธอก็พบเห็นตัวเองในอีกร่างหนึ่ง เป็นร่างที่เธอเป็น “ไอดอล” คอยมาก่อกวน ประกอบละครที่เธอกำลังแสดงก็มีบางส่วนที่ซ้อนทับกับเหตุการณ์ฆาตกรรมที่เกิดขึ้นจริงจนบางครั้งเธอไม่รู้ว่าอะไรคือความจริง อะไรคือการแสดง และ อะไรคือความฝัน
ซึ่งหากหนังจบลงแค่นี้เราก็คงสรุปอย่างง่ายๆว่าด้วยความเครียดจากการแสดงซึ่งเป็นงานที่ยาก และ หลายครั้งเธอต้องทำตัวให้ถูก “แปดเปื้อน” ทั้งจากการแสดงที่เปลืองเนื้อเปลืองตัวในบางครั้ง และ จากการถ่ายแบบนู้ด ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิด conflict ในจิตใจซึ่งตามทฤษฎีแล้วสิ่งเหล่านี้อาจจะไปตอบสนอง sexual drive ของมิมะ (ซึ่งมีอยู่แล้วในจิตใต้สำนึก) แต่ในขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับ superego ที่บอกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งไม่ดี และ เมื่อ conflict เกิดรุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถกดเก็บ
(repression) เอาไว้ได้ จึงแสดงออกมาโดยการโทษว่าเป็นความผิดของคนเขียนบท โปรดิวเซอร์ หรือแม้แต่ช่างภาพนู้ด จนอยากจะฆ่าให้ได้ แต่แน่นอนว่าการฆ่าก็เป็นสิ่งที่ superego รับไม่ได้เช่นกันจึงต้อง “กลาย” เป็นอีกคนหนึ่ง (ในที่นี้คือ Me-Mima มิมะอีกคนหนึ่งที่โผล่มาเป็นภาพหลอนในชุดไอดอล) ในการฆ่าแทน แต่เรื่องกลับตาลปัตรตรงที่ในฉากสุดท้าย มิมะถูกตามฆ่าโดยรูมิ และ ก็เป็นรูมินี่เองที่ถูกจับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล และ พร่ำเพ้อว่าตัวเองคือ “มิมะ” ซึ่งการมีบทสรุปเช่นนี้นอกจากจะทำให้เราต้องนึกย้อนกลับไปมองหนังใหม่อีกครั้ง
2.
ในช็อตสุดท้ายที่มิมะมาที่โรงพยาบาลที่รูมิอยู่ และ พูดกับตัวเองในกระจกมองหลังในรถยนต์ว่า “ฉันนี่แหละตัวจริง” แล้วยิ้ม มันสื่ออะไรกับเรา ในความเห็นของผู้เขียน ประโยคนี้มันบ่งบอกอยู่อย่างน้อยสองอย่าง หนึ่งคือมิมะรู้มาก่อนแล้วรูมิอิจฉาและ อยากเป็นอย่างตนเอง และ สอง มิมะที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่มิมะตัวจริงเลยก็ได้
ในประเด็นแรกนั้น ด้วยคำพูดของมิมะมันชวนให้คิดว่าเธอรู้อยู่แล้วว่ารูมิอยากเป็นอย่างเธอหรืออย่างน้อยๆก็ รู้ว่ารูมิ “หลอน” ว่าตัวเองเป็นเธอ ซึ่งดูแล้วเธอไม่ได้พอใจหรือชอบใจกับสิ่งนี้สักเท่าไร และ การกล่าวด้วยน้ำเสียงที่ค่อนข้างสะใจเล็กๆ (ชวนให้นึกถึงนางร้ายในละคร) ก็อาจจะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับรูมิที่อาจจะไม่ดีเท่าไรก็เป็นได้
มิมะที่เราเห็นมาตลอดทั้งเรื่องเป็นเด็กสาวที่เรียบร้อย อ่อนโยน ดูไม่มั่นใจในตัวเอง และ ติดดิน เธอเดินทางโดยรถไฟหรือไม่ก็เดิน ยกเว้นว่าวันนั้นเธอไปกับโปรดิวเซอร์ถึงจะนั่งรถ ดังนั้นบุคลิกของมิมะในช็อตสุดท้ายจึงดูขัดแย้งกับมิมะในเรื่องอย่างสิ้นเชิง (รวมถึงการมีรถขับด้วย)
อีกทั้งการที่พยาบาลที่โรงพยาบาลก็ซุบซิบตอนที่เห็นมิมะว่า “เธอมาทำอะไรที่นี่” ก็บ่งชี้ว่าเหตุการณ์ที่มิมะกับรูมิไลล่ากันในฉากก่อนหน้านั้นมิมะ (ตัวจริง) ไม่เกี่ยวด้วยเลย (เพราะถ้าเหตุการณ์นั้นมิมะอยู่ในเหตุการณ์ด้วยก็น่าจะเป็นข่าวดังว่ามิมะถูกพยายามฆ่า) จึงน่าจะหมายความว่ามิมะที่เราเห็นมาตลอดเรื่องนั้นแท้จริงแล้วคือรูมิเกือบทั้งหมด
3.
หากจะสรุปเรื่องราวของหนังใหม่ก็คงเป็นว่า มิมะเป็นไอดอลที่กำลังมาแรงแต่ทว่าเธอเลือกที่จะมาเป็นนักแสดงตามคำแนะนำของโปรดิวเซอร์ ซึ่งรูมิในฐานะของผู้จัดการส่วนตัวของมิมะก็พยายามคัดค้านแต่ไม่สำเร็จ รูมิเองนั้นก็เป็นอดีตไอดอล เราไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับอาชีพของเธอ แต่สุดท้ายก็กลายมาเป็นผู้จัดการส่วนตัวของไอดอลรุ่นน้อง
เหตุผลที่รูมิไม่อยากให้มิมะเลิกเป็นไอดอลนั้นไม่ชัดเจนแต่ก็เป็นไปได้ว่าเธออาจจะเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาก่อน เธอจึงเป็นห่วงมิมะ แต่ที่เป็นไปได้มากกว่า (และ หนังสื่อไปถึงมากกว่า) คือลึกๆแล้วรูมิเกลียดมิมะ อาจจะทางตรงหรือทางอ้อม รูมิมองมิมะว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ที่มาสาดซัดเธอให้หลุดออกจากวงการ
รูมิโทษมิมะว่าเป็นสาเหตุ แต่กระนั้นความเกลียดเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เธอจึงพยายามทำดี และ ดูแลมิมะอย่างมาก (reaction formation) และ ในขณะเดียวกันเธอก็อยากเป็นมิมะซึ่งแน่นอนว่าเป็นไม่ได้ เธอจึงใช้มิมะเป็นตัวแทนของเธอที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นไอดอลแทน ซึ่งมากเข้าเธอก็ได้สร้างตัวตนของเธออีกตัวที่เป็นมิมะขึ้นมา
แต่เมื่อมิมะเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางชีวิตมาเป็นนักแสดง ทำให้ความฝันของรูมิจึงไม่ถึงฝั่ง รูมิในคราบของมิมะ (ซึ่งต่อไปจะขอใช้คำว่า “มิมะ(รูมิ)”) แรกๆก็พยายามทำใจ และ ฮึดสู้ แต่ด้วยอาชีพนักแสดงของมิมะตัวจริงจำเป็นต้องเล่นให้ได้ทุกบทบาท และ ในละครที่เธอเล่นก็มีฉากถูกข่มขืน ทำให้มิมะ(รูมิ)เริ่มทนไม่ค่อยได้ (เพราะบทบาทเริ่มไม่ได้เป็นอย่างที่รูมิต้องการ) เธอจึงสร้าง Me-Mami ขึ้นมาซึ่งเป็นมิมะในชุดไอดอลที่พยายามจะบอกมิมะ(รูมิ) ว่าเธอเป็นคนไม่ดี ปล่อยตัวให้
ผู้ชาย และ มิมะต้องเป็นไอดอลถึงจะถูกต้อง ในจิตใต้สำนึกของรูมิโทษ (projection) ว่าเป็นความผิดของคนเขียนบท และ โปรดิวเซอร์ที่ทำให้มิมะต้องมาเล่นบทแบบนี้ (รวมถึงช่างภาพนู้ดของมิมะด้วย) เธอจึงฆ่าทุกคนที่เธอมองว่าเป็นสาเหตุโดยที่ใช้บุคลิกของ Me-Mima ในการฆ่าแทน
และ จากเดิมที่บอกว่ารูมินั้นลึกๆแล้วเกลียดมิมะ ทำให้ ในฉากไล่ล่าตอนท้าย Me-Mima จึงพยายามจะฆ่ามิมะ(รูมิ)เพื่อที่เธอจะได้กลายเป็น Me-Mima หรือไอดอลมิมะอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างที่เห็น Me-Mima พ่ายแพ้ และ กำลังจะถูกรถชนแต่มิมะ(รูมิ)ช่วยไว้ก่อน จุดนี้ก็บ่งบอกถึง life instinct ของรูมิที่ยังอยากมีชีวิตอยู่
ส่วนตัวมองว่าโอตาคุคนนั้นก็คือหนึ่งในบุคลิกของรูมินั่นเอง ซึ่งบางครั้งภาพที่เราเห็นว่าผู้ชายคนนี้ปรากฏตัวกับมิมะก็อาจจะเป็นรูมิก็ได้ เช่นในฉากแรกๆที่เป็นคอนเสิร์ตของมิมะ แต่บางฉากอาจจะไม่มีมิมะเลยแต่เป็นตัวตนของรูมิทั้งหมดอย่างเช่นฉากในโรงถ่ายที่โอตาคุพยายามฆ่ามิมะเป็นต้น
4.
ทั้งหมดทั้งมวลนั้นคือเรื่องราวของหญิงสาวที่บุคลิกภาพแตกสลายจนไม่สามารถแยกแยะจริงลวงได้อีกต่อไป ซึ่งหนังเอาไปเชื่อมโยงกับวงการมายาที่เต็มไปด้วยความจริงที่ถูกแต่งแต้มสีสัน นอกจากนั้นวงการไอดอลเองก็เป็นวงการที่มีความเฉพาะตัว ทั้งในแง่ตัวไอดอลเองก็ล้วนแล้วแต่ต้องแข่งขันทั้งกับตัวเอง และ ไอดอลรุ่นใหม่ ส่วนแฟนๆก็เต็มไปด้วยความคาดหวัง รักมากเกลียดมาก ซึ่งหนังสะท้อนให้เห็นภาวะเช่นนี้อย่างชัดเจนผ่านเหตุการณ์ในเรื่องที่แม้ว่าจะเป็นเพียง
จินตนาการที่เกิดขึ้นในจิตใจของตัวละครเท่านั้นแต่กลับฉายให้เห็นสภาพความเป็นจริงของสังคม และ วงการไอดอลได้เป็นอย่างดี Perfect Blue ผสมผสานงานภาพที่จัดจ้าน น่าฉงนฉงายกับประเด็นจิตวิทยาที่ซับซ้อน บวกกับตอนจบที่ทำให้ต้องนึกถึงหนังใหม่ทั้งเรื่อง ทำให้กลายเป็นหนังที่ต้องถูกกล่าวถึงในฐานะหนังแอนิเมชั่นจิตวิทยาเรื่องเยี่ยมไปอีกนานทีเดียว รีวิว อนิเมะ