รีวิว Liz and the Blue Bird
สำหรับเพื่อนๆที่เป็นแฟนของซีรีส์ Hibike! Euphonium เตรียมพบกับภาคใหม่กันได้แล้วเมื่อมีการเปิดเผยเว็บไซต์พร้อมประกาศภาพยนตร์อนิเมะเรื่อง Liz to Aoitori ซึ่งถือเป็นภาคแรกของแผนการภาพยนตร์อนิเมะสองภาคใหม่จากซีรีส์ Hibike! Euphonium พร้อมกับปล่อยตัวอย่างแรกที่มีเพลงประกอบในชื่อว่า Songbirds ซึ่งขับร้องโดย Kyoto-based three-woman, one-man band Homecomings ถ้าพร้อมกันแล้วเราไปชมตัวอย่างกันเลยครับ สำหรับตัวละครและนักพากย์ส่วนใหญ่จะเป็นการกลับมาของทีมพากย์ของอนิเมะเรื่อง Hibike! Euphonium ตอนเป็นซีรีส์นะครับ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้นะครับ ดูการ์ตูนออนไลน์ ดูการ์ตูน
จดหมายรักของผู้กำกับ Naoko Yamada ต่อ Kyoto Animation เปรียบตนเองเหมือนนกสีฟ้า (Blue Bird) สักวันก็ต้องโบยบินจากไป ถึงอย่างนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราจักไม่มีวันเสื่อมสลาย ฉันจะรักษาช่วงเวลาอันทรงคุณค่านี้ไว้ให้ได้นานที่สุด เทพนิยาย/วรรณกรรม Liz and the Blue Bird เป็นเรื่องราวสมมติ ‘story within story’ เพื่อใช้ประกอบนวนิยาย/ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องนี้ (รวมไปถึง Orchestra ที่ได้ยินด้วยนะครับ) แต่สัตว์สัญลักษณ์ Blue Bird น่าจะได้แรงบันดาลใจ
จากวรรณกรรมเยาวชนชื่อ The Children’s Blue Bird (1911) เขียนโดย Georgette Leblanc (1869-1941) ซึ่งเรียบเรียงมาจากบทละครเวที L’Oiseau bleu (1908) [แปลว่า The Blue Bird] ประพันธ์โดย Maurice Maeterlinck (1862-1932) นักกวี/เขียนบทละครชาว Belgium เจ้าของรางวัล Nobel Prize สาขาวรรณกรรม
Blue Bird จริงๆแล้วมันควรแปลว่า นกสีน้ำเงิน แต่เพราะวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Children’s Blue Bird (1911) กลับใช้ชื่อภาษาไทยว่า นกสีฟ้า นั่นเพราะในเรื่องราวมีการเปรียบเทียบสีของนกเหมือนกับท้องฟ้า เรียกแบบนี้จีงจดจำง่ายกว่า(นกสีฟ้า = 3 พยางค์, นกสีน้ำเงิน 4 พยางค์) ส่วนความหมายสื่อถึงอิสรภาพ การออกเดินทาง เริ่มต้นใหม่ และแสวงหาความสุขของชีวิต (เรื่องราวจะเป็นการออกติดตามค้นหานกสีฟ้า เพื่อจักได้พบเจอความสงบสุขกลับคืนมา)
แม้ว่า Liz and the Blue Bird จะเป็นส่วนหนี่งของแฟนไชร์ Sound! Euphonium (2015-) แต่ผู้ชมไม่จำเป็นต้องเคยรับชมเนื้อหาส่วนอื่นๆมาก่อน เพราะอนิเมะเรื่องนี้ถือเป็น Spin-Off นำเพียงบางตัวละครที่เหมือนจะมีความน่าสนใจในซีรีย์หลัก มา พัฒนาเนื้อหาที่มีเฉพาะตัวเอง … และอนิเมะเรื่องนี้มีความเป็น ‘ส่วนตัว’ ของผู้กำกับ Naoko Yamada อย่างเด่นชัดเจนมากๆ
การทำความเข้าใจเพียงเนื้อหาสาระจีงเพียงเปลือกภายนอกเท่านั้น แท้จริงแล้วมีบางสิ่งอย่างลุ่มลีกซี้งซ่อนเร้นอยู่ภายใน เอาจริงๆผมไม่แน่ใจว่า Naoko Yamada ถึงจุดอิ่มตัวกับการทำงานที่ Kyoto Animation หรือเปล่านะ (เป็นการคาดการณ์จากเรื่องราวของอนิเมะ ที่ผมรู้สึกว่าใกล้ตัวเธอที่สุดแล้ว) แต่หลังจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิง(ที่สตูดิโอ KyoAni)เมื่อวันที่ 18
กรกฎาคม 2019 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 36 คน นั่นคงสร้างความสั่นสะเทือนใจอย่างรุนแรง จนเธอมิอาจหวนกลับไปทำงานยังสถานที่แห่งนี้ได้อีก (หลังจากนี้เธอจึงไปเริ่มต้นใหม่กับสตูดิโอ Science Saru) ก่อนอื่นขอนำฉบับเต็มออเคสตร้า Liz and the Blue Bird ประพันธ์โดย Akito Matsuda (เกิดปี 1982, ที่ Osaka) ซึ่งเป็นผู้ทำเพลงประกอบแฟนไชร์ Sound! Euphonium แต่อนิเมะเรื่องนี้ได้รับมอบหมายเพียงในส่วนการบรรเลงออเคสตร้าเท่านั้น ประกอบด้วย 4 Movement
(แต่ละ Mvt. จะดังขี้นประกอบเรื่องราวเทพนิยายที่เป็น ‘story within story’ ด้วยนะครับ) Naoko Yamada (เกิดปี 1984, ที่ Kyoto) นักอนิเมเตอร์ ผู้กำกับอนิเมชั่นสัญชาติญี่ปุ่น ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบหลงใหลการวาดรูป ได้รับอิทธิพลจาก Patlabor และ Dragon Ball ด้วยบุคลิกห้าวๆ แก่นแก้ว ทอมบอย เข้าร่วมชมรมวอลเล่ย์บอล
เนื้อหา รีวิว Liz and the Blue Bird
เทนนิส พอขึ้นมัธยมปลายเปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมถ่ายภาพ เข้าศึกษาสาขาจิตรกรรมสีน้ำมัน Kyoto University of Art and Design และยังร่วมสรรค์สร้าง Special Effect ให้กับชมรมภาพยนตร์ … เรียกว่าเปลี่ยนความสนใจไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่งหลังเรียนจบตั้งใจว่าจะเข้าสู่วงการภาพยนตร์ แต่พบเห็นประกาศรับสมัครจาก Kyoto Animation ตอบรับเข้าทำงาน In-Between อนิเมะซีรีย์ Inuyasha (2000-04), เลื่อนขึ้นมาเป็น Key Animation เรื่อง Air (2005), กำกับตอน
(Episode Director) เรื่อง Clannad (2007-09), และกำกับซีรีย์เรื่องแรก K-On! (2009) แจ้งเกิดโด่งดังโดยทันที, ติดตามมาด้วย Tamako Market (2013), ภาพยนตร์อนิเมชั่น A Silent Voice (2016) แนวทางการทำงานของ Yamada เรียกตนเองว่า ‘method director’ หลังจากได้รับบทอนิเมะ สวมบทบาทตนเองเป็นทุกๆตัวละคร พยายามศึกษา ทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด
ครุ่นค้นหาเหตุผลทุกๆการกระทำ จนกว่าจะเห็นภาพเรื่องราวทั้งหมดในหัว ถึงค่อยเริ่มวาด Storyboard สเก็ตรายละเอียดอื่นๆติดตามมา Sound! Euphonium เป็นโปรเจคที่ Yamada แม้ขี้นชื่อในฐานะร่วมกำกับ Tatsuya Ishihara แต่แท้จริงแล้วมีส่วนร่วมเพียง Series Unit Director (เฉพาะส่วนงานสร้างอนิเมชั่น) ประกอบด้วย
- ซีรีย์ซีซันแรก Sound! Euphonium (2015)
- ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: The Movie – Welcome to the Kitauji High School Concert Band (2016)
- ซีรีย์ซีซันสอง Sound! Euphonium 2 (2016)
- ภาพยนตร์อนิเมชั่น Sound! Euphonium: Todoketai Melody (2017)
กระแสความนิยมใน Sound! Euphonium ทำให้สตูดิโอ KyoAni ได้รับสิทธิ์พิเศษในการอ่านนวนิยายต้นฉบับก่อนตีพิมพ์วางจำหน่ายจริง ซี่งขณะนั้นผู้แต่ง Ayano Takeda ได้เขียนภาคใหม่เสร็จสิ้น Sound! Euphonium Kitauji High School Concert Band, Second Turbulent Movement (2017) โดยตั้งใจจะแบ่งออกเป็นสองเล่ม Volumn 1 และ Volumn 2
ระหว่างการประชุมเพื่อหาข้อสรุปดัดแปลงนวนิยายเล่มดังกล่าว ผู้กำกับ Ishihara ยังคงต้องการให้เรื่องราวดำเนินไปในมุมมองของตัวละครหลักๆ ส่วนเนื้อหาของ Mizore และ Nozomi ถือเป็นส่วนเกินที่โดดเด่นขี้นมา แต่จะตัดออกก็น่าเสียดาย ผู้กำกับ Yamada เลยอาสาดัดแปลงสร้างเป็น Spin-Off แยกออกจากภาคปกติ กลายมาเป็น
- Liz and the Blue Bird (2018) นำเสนอเรื่องราวของ Mizore และ Nozomi
- และ Sound! Euphonium: The Movie – Our Promise: A Brand New Day (2019)
(ส่วนซีซันสาม เห็นเตรียมงานสร้างกันมาสักพักใหญ่แล้ว แต่ที่ล่าช้าไม่ใช่แค่สถานการณ์โควิท-19 ยังเพราะ KyoAni ต้องฝีกฝนนักอนิเมเตอร์รุ่นใหม่ขี้นมาแทนที่ผู้จากไปจากเหตุการณ์ลอบวางเพลิงครั้งนั้น จีงไม่สามารถเริ่มต้นโปรดักชั่นได้สักที)
Ayano Takeda (เกิดปี 1992) นักเขียนนวนิยายสัญชาติญี่ปุ่น เกิดที่ Ujii, Kyoto ตั้งแต่เด็กมีความชื่นชอบการอ่านหนังสือ ถีงขนาดต้องให้ได้ 2 เล่มต่อวัน เคยพยายามทดลองเขียนนิยายแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ระหว่างเรียนประถมปีที่ 5 ตัดสินใจเข้าชมรมเครื่องเป่า เลือกเล่นเครื่องดนตรี Euphonium ที่ไม่ค่อยมีคนนิยมทำให้มีโอกาสได้รับเลือกเป็นผู้เล่นหลักในวง
แต่พอขี้นมัธยมปลาย เปลี่ยนความสนใจสู่ชมรมนักเขียน ได้รับคำแนะนำดีๆจากรุ่นพี่ ทั้งยังมีโอกาสพัฒนาบทละครเวที ให้เพื่อนๆร่วมชั้น ชนะเลิศการแสดงของโรงเรียน จีงเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขี้น ระหว่างกำลังศีกษามหาวิทยาลัย Doshisha University ส่งนวนิยายเรื่องแรก Today, We Breathed Together เข้าประกวด Japan Love Story Awards
รีวิว Liz and the Blue Bird
(ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Japan Love Story & Entertainment Awards) แม้ไม่สามารถผ่านเข้ารอบลีกๆ กลับได้รับโอกาสจากหนี่งในบรรณาธิการ(ที่เป็นคณะกรรมการ) ช่วยเหลือขัดเกลาจนสามารถตีพิมพ์จัดจำหน่ายปี 2013 สำหรับผลงานเรื่องถัดไปของ Takeda เลือกความสนใจในอดีตที่เคยเข้าร่วมชมรมเครื่องเป่า เพราะยังคงมีความทรงจำเลือนลางต่อช่วงเวลานั้น (เธอกลัวว่าถ้าเขียนเรื่องราวนี้ตอนอายุมากขี้น จะเริ่มจดจำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว) โทรศัพท์ติดต่อหา
เพื่อนเก่าๆร่วมวงเดียวกันให้มาช่วยเป็นที่ปรีกษา ส่วนชื่อเรื่องเกิดจากข้อสรุปว่าจะให้ตัวละครเล่น Euphonuim (เครื่องดนตรีเดียวกับผู้แต่ง) และบรรณาธิการถามว่า ‘Euphonium มีเสียงอย่างไร?’ เลยกลายมาเป็น Hibike! Yūfoniamu แปลตรงตัวว่า Sound! Euphonium
ไม่นานหลังนวนิยายตีพิมพ์ Takeda ก็ได้รับแจ้งข่าวว่า Kyoto Animation มีความสนใจดัดแปลง Sound! Euphonium สร้างเป็นอนิเมะ นั่นถือเป็นโชคชะตาโดยแท้ เพราะ KyoAni กำลังมองหาเรื่องราวมีพื้นหลังใน Kyoto เพื่อโปรโมทสถานที่และการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย
เพียงหกเดือนหลังวางจำหน่าย ยอดขายเพิ่มขี้นหลายเท่าตัว และอนิเมะได้รับการยืนยันสร้าง นั่นเองคือจุดเริ่มต้นให้นวนิยายที่ตั้งใจเขียนแค่เล่มเดียวจบ ต้องขยายเรื่องราวออกไป ประเด็นคำถามอุตส่าห์ค้างคาไว้ (เพราะครุ่นคิดว่าไม่จำเป็นต้องเปิดรายละเอียดทุกสิ่งอย่าง) จำเป็นต้องได้รับการเปิดเผยออกมาทั้งหมด รีวิว อนิเมะ